Kathmandu Photo Gallery
proudly presents
Tango in the Big Mango
A Solo Exhibition of Photography by
Peter Nitsch
Curator
Akkara Naktamna
8 July – 26 August 2023
[Opening party Sat 8 July, 6.30 – 9.00 pm.]
.
I (curator) am quite interested in the term “Tango” used by Peter Nitsch, a German photographer, in this photo series. The Tango dance style has an intriguing characteristic, transitioning rapidly from intense movements to serene stillness. Peter’s work captures the dance in a bustling city full of chaos. The unstoppable desire for growth and development reaches its climax and comes to a sudden halt. In this mesmerizing and vibrant song, we are watching, marveling at the dynamic dance captured in the peculiar photographs of Bangkok, reflecting the truth in an awakening and straightforward manner.
This work is a combination of documentary/street photography and conceptual photography. The main focus is on exploring the metropolitan city of Bangkok over a period of time, capturing various people and situations, ranging from the lives of individuals from different social classes, from the “somebody” to the “nobody.” We witness the struggles of people who have never been equal in the same circumstances, such as the COVID-19 pandemic. Additionally, the direct portraits of different individuals in the photographs are intriguing, as they go beyond capturing mere candid moments like the familiar street photography. These images convey something that cannot be explained solely through sight and gesture.
Besides the main theme; GREED, GROWTH, and ANGST are symbols that represent an idea emerging amidst swift and chaotic movements. The artist’s consciousness seems to transcend the immediate imagery, drifting into a trance-like state. The alternating depictions of narcissism, materialism, and consumerism resemble the actions of a person devoid of mindful intention. A youth wrapped in golden foil paper is wandering through various places, boasting an illusion of sustainability that is no different from the golden foil he is wrapped in. We witness the anxiety inherent in the situations faced by each individual. The final chapter serves as a reflection of a youth wrapped in gold, yet paradoxically bound by cheap plastic as a means of protection against impending disaster. It’s a dark comedy that reminds us of the fragility of life, encapsulated by the juxtaposition of gold foil and opaque plastic. Nevertheless, we continue to don these symbolic elements and enjoyably dance the tango within this strange city.
Peter Nitsch is widely regarded as Germany’s renown documentary art photographer. He has been honored with significant awards, including the Los Angeles International Photography Award, and currently resides and works in Munich and Bangkok. His photographic work centers around the clash between Thai identity and the forces of globalization.
คัดมันดู โฟโต้ แกลเลอรี่
ภูมิใจเสนอ
Tango in the Big Mango
นิทรรศการภาพถ่ายโดย
ปีเตอร์ นิท์ช
ภัณฑารักษ์
อัครา นักทำนา
8 กรกฎาคม – 26 สิงหาคม 2566
[เปิดนิทรรศการ เสาร์ที่ 8 กรกฎาคม เวลา 18.30 – 21.00 น.]
.
ผม (ภัณฑารักษ์) ค่อนข้างสนใจกับคำว่า “แทงโก้” ที่ ปีเตอร์ นิท์ช ศิลปินภาพถ่ายชาวเยอรมันนำมาใช้กับงานภาพถ่ายชุดนี้ การเต้นรำแบบแทงโก้มีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจยิ่ง จากการเคลื่อนไหวที่รุนแรงปรับเปลี่ยนอย่างฉับพลันไปสู่ความสงบนิ่งอันน่าหลงใหล งานของปีเตอร์ชิ้นนี้คือการเต้นรำไปในมหานครที่เต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวาย ความทะยานอยากของการเจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง จนไปถึงการหยุดชะงักจนหัวทิ่มหัวคะมำ ในบทเพลงอันแสนเย้ายวนและเร้าใจ เรากำลังนั่งชมการเต้นรำอันพริ้วไหวไปบนภาพถ่ายที่แปลกประหลาดของกรุงเทพฯ ที่สะท้อนเอาความจริงออกมาวางให้ดูอย่างน่าตื่นตาตื่นใจและตรงไปตรงมา
งานชิ้นนี้เป็นส่วนผสมของงานภาพถ่ายเชิงสารคดี/สตรีทโฟโต้ และภาพถ่ายเชิงความคิด โดยส่วนหลักคือการสำรวจไปในมหานครใหญ่อย่างกรุงเทพฯ ผ่านช่วงเวลา ผู้คน และสถานการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการชีวิตของคนในหลายๆ ลำดับชั้นทางสังคม จากคน “มั่งมี” ไปถึงคน “ไม่มี” เราได้เห็นถึงการดิ้นรนของคนที่ไม่เคยเท่ากันในสถานการณ์เดียวกันอย่างปรากฏการณ์โควิด-19 รวมไปถึงภาพถ่ายหน้าตรงของบุคคลต่างๆ มีความน่าสนใจที่ว่าไม่ใช่เพียงการจับจังหวะตอนทีเผลอแบบภาพสตรีทที่เราคุ้นแคย แต่หากมีบางอย่างที่ไม่อาจอธิบายได้ผ่านทางสายตาและท่าทาง
GREED, GROWTH and ANGST เป็นส่วนผสมสำคัญที่สอดแทรกไปในบทเพลงเต้นรำแสดงถึงความคิดที่ผุดขึ้นมาท่ามกลางความเคลื่อนไหวอันรวดเร็วสับสน สติลอยหลุดจากภาพตรงหน้าเข้าสู่ภวังค์ ปรากฏภาพของความหลงตัวเอง หลงในวัตถุ และการบริโภคนิยมที่สลับไปมาเหมือนคนไร้สติ มีภาพเด็กหนุ่มที่ห่อหุ้มด้วยกระดาษฟอยล์สีทองเดินท่องเที่ยวไปยังที่ต่างๆ เพื่ออวดอ้างความมั่นคงยั่งยืนที่ดูปลอมไม่ต่างกับฟอยล์สีทองที่ห่อหุ้มอยู่นั้น เรามองเห็นความวิตกกังวลในสถานการณ์ที่ต่างคนต่างต้องเผชิญ ภาพในบทสุดท้ายเหมือนภาพสะท้อนของเด็กหนุ่มที่ห่อหุ้มด้วยทอง แต่หากคนเหล่านั้นกลับถูกพันธนาการด้วยพลาสติกราคาถูกที่เอาไว้ปกป้องตัวเองจากหายนะ เป็นตลกร้ายที่บอกให้พวกเรารู้ว่าชีวิตมันช่างเปราะบางไม่ต่างไปจากแผ่นฟอยล์ทองคำและพลาสติกขุ่นๆ ห่อหุ้มร่างกาย แต่เราก็ยังสวมใส่พวกมันและเต้นรำอย่างบันเทิงเริงใจอยู่ในมหานครแปลกๆ แห่งนี้
ปีเตอร์ นิท์ช ถูกจัดเป็นช่างภาพศิลปะเชิงสารคดีแนวหน้าของเยอรมัน เขาได้รับรางวัลสำคัญมาแล้ว อาทิจาก ลอส แองเจลิส อินเตอร์เนชั่นแนล โฟโต้กราฟี อวอร์ด ปัจจุบันอาศัยและทำงานอยู่ที่มิวนิคและกรุงเทพ ภาพถ่ายของเขามุ่งสะท้อนเรื่องความขัดแย้งระหว่างอัตลักษณ์ไทยกับกระแสโลกาภิวัตน์