Rediscovering Forgotten Thai Masters of Photography
by Manit Sriwanichpoom
Size: 18 x 25 x 1.3 cm., 220 pages, weight 0.7 kg., soft cover (printed in 2015)
Price: 1,000.-
[Text in Thai & English]
‘Rediscovering Forgotten Thai Masters of Photography’ is the fruit of many years of Manit’s labour of love, to seek out and gather the work of seven Thai masters of photography, whose work vary greatly in style and substance. Some of this work has never been shown to the public before. One of them, Buddhadasa, is a revered sage and monk who used photography as a medium for the Buddha’s teachings. Two are better known as celebrated writers, Rong Wong-savun and M.L. Toy Xoomsai (who had taught Rong photography). One of them, Pornsak Sakdaenprai, still had to rely on sunlight for printing and enlarging when he opened his photo studio because, in 1959, his remote hometown in Northeast Thailand had not yet entered the age of electricity.
Manit Sriwanichpoom is one of Thailand’s leading photographers, and the best known in the international art world, having exhibited worldwide including in Saatchi Gallery (London 2015), the Centre Pompidou (Paris, 2010), The 6th Asia Pacific Triennial (Australia, 2009), Photoquai (Paris, 2007), the Venice Biennale (2003) and Photo Espana (Madrid 2001). His works are collected by important museums around the world such as the Maison Europeenne de la Photographie (Paris), the DG Bank (Germany), the Fukuoka Asian Art Museum (Japan), the National Gallery of Australia, the Singapore Art Museum and well known private collectors. In 2007 he was awarded the Higashikawa Overseas Photographer Prize from Japan. In 2014 he was honored the Chevalier de L’Ordre des Arts et des Lettres by French Ministry of Culture.
ช่างภาพไทยที่โลกลืม
โดย มานิต ศรีวานิชภูมิ
หนังสือขนาด 18 x 25 x 1.3 ซม., 220 หน้า, น้ำหนัก 0.7 ก.ก., ปกอ่อน (พิมพ์ปี 2558)
ราคา 1,000 บาท
[หนังสือสองภาษา: ไทย/อังกฤษ]
“ไทยเราไม่มีช่างภาพระดับมาสเตอร์ให้ศึกษาเลยหรือ?” มานิต ศรีวานิชภูมิ ศิลปินและอาจารย์พิเศษด้านภาพถ่ายตั้งคำถามนี้กับตัวเอง เพราะเมื่อต้องสอนหนังสือก็มีแต่ผลงานช่างภาพมาสเตอร์ของตะวันตกให้เรียนเท่านั้น ส่วนของไทยยังไม่มีตำราที่ศึกษาอย่างจริงจัง และนี่คือเหตุผลให้เขาเริ่มโครงการค้นหาครูภาพถ่ายไทยเมื่อปี 2554
“ช่างภาพไทยที่โลกลืม” คือหยาดเหงื่อแรงงานของมานิต ที่ค้นคว้ารวบรวมเอาผลงานภาพถ่ายอันหลากหลายทั้งเนื้อหาและสไตล์ของช่างภาพไทยฝีมือชั้นครูจำนวน 7 ท่านมานำเสนอให้ชมกัน โดยผลงานเหล่านี้ของบางท่านไม่เคยเผยแพร่ที่ใดมาก่อน ช่างภาพบางท่านเป็นพระนักปราชญ์ผู้มีชื่อเสียง เช่น พุทธทาส ผู้ใช้ภาพถ่ายเป็นเครื่องมือสื่อธรรมะ บางท่านเป็นที่รู้จักในฐานะนักเขียนชื่อดังมากกว่าช่างภาพ เช่น ‘รงค์ วงษ์สวรรค์ และ ม.ล.ต้อย ชุมสาย (ผู้เป็นอาจารย์สอนถ่ายภาพให้ ‘รงค์) บางท่านเมื่อเปิดร้านถ่ายรูปยังใช้แสงแดดในการอัดภาพ เช่น พรศักดิ์ ศักดิ์แดนไพร เพราะพิมายในปี 2502 ยังไม่มีไฟฟ้าใช้
กำเนิดกรุงเทพ มานิต ศรีวานิชภูมิ ศิลปินภาพถ่ายผู้สร้างสรรค์และบุกเบิกวงการภาพถ่ายร่วมสมัยของไทยมาอย่างยาวนาน ผลงานอันเต็มไปด้วยสีสันของเขามีเนื้อหาเสียดสีวิพากษ์วิจารณ์สังคม การเมือง และศาสนา ทั้งเคยเข้าร่วมแสดงในนิทรรศการและเทศกาลศิลปะนานาชาติสำคัญๆ มาแล้วมากมาย อาทิ เวนิส เบียนนาเล่ (อิตาลี ๒๕๔๖), ฟูโกโอกะ เอเชียน อาร์ต ไทรเอ็นเนียล (ญี่ปุ่น ๒๕๔๒), เอเชีย-แฟซิฟิก ไทรเอ็นเนียล (ออสเตรเลีย ๒๕๕๒), กวางจู เบียนนาเล่ (เกาหลี ๒๕๔๙) และ โฟโต้ เอสปาญ่า (สเปน ๒๕๔๔) เป็นต้น ผลงานของเขายังได้รับการสะสมโดยพิพิธภัณฑ์นานาชาติ อาทิ Maison Europeenne de la Photographie (ฝรั่งเศส), Deutsche Bank (เยอรมัน), Queensland Art Gallery (ออสเตรเลีย), National Gallery of Australia, Singapore Art Museum และ Koc Foundation (ตุรกี) ปี ๒๕๕๐ เขาได้รับรางวัล Higashikawa Photo Prize จากญี่ปุ่น และในปี ๒๕๕๗ กระทรวงวัฒนธรรมและการสื่อสารของฝรั่งเศสได้มอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ด้านศิลปศาสตร์และอักษรศาสตร์ ชั้นอัศวินให้แก่มานิต, นอกจากนี้เขายังเป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาภาพถ่ายร่วมสมัยให้กับมหาวิทยาลัยไทยหลายแห่ง และเป็นวิทยากรรับเชิญให้กับสถาบันภาพถ่ายในต่างประเทศอีกด้วย
……………………………..