UNDER THE BRIDGE

A photographic exhibition by

 Andrew McNeill

 

7 November – 26 December 2015

A work of visual art should surely speak for itself. This is increasingly rare in the contemporary art world, which needs and admires verbose explanations. In themselves the Rembrandt-evocative portraits from this series, actually of homeless people, many of them junkies or mad, are visions of Christian mystics: a Christ-like man with piercing eyes, half-hidden in shadow; a pieta Madonna in her grubby knitted hoodie; pre-exorcism Mary Magdalene with raccoon kohl eyes and a fag between her lips; St Sebastian pierced by a syringe instead of arrows—these are the saintly martyrs of old, updated. A young man gazing up at God, a crucifix on a chain dangling from his mouth, has the face of that 20th century martyr of the revolution, Che.

But photographer Andrew McNeill is not romanticising his sitters. Mysticism and insanity are after all not incompatible. Ultimately, these are portraits of divine surrender. A viewer with courage and insight might perceive them as far less tragic than their worldly opposite, the narcissistic selfie.

“Through portraiture I want to convey the humanity of vulnerable people in a positive, aesthetic manner,” says McNeill, “My creative ambition is to seek deep insights into the lives of my subjects, allowing them to present themselves to the camera in low light conditions.”

To produce this impressive series, photographer Andrew McNeill spent a year engaging with homeless people, including sleeping on the streets with them in his hometown of Cardiff, Wales.

                                                                                                            Ing K

                                                                                                            September 6, 2015

————————————————–

ใต้สะพาน’

 

นิทรรศการภาพถ่ายโดย

แอนดรูว์ แม็คนีลล์

เวลาจัดแสดงตั้งแต่ 7 พฤศจิกายน – 26 ธันวาคม 2558

งานทัศนศิลป์สมควรสื่อสารได้ด้วยตัวมันเอง  นี่เป็นสิ่งที่หายากขึ้นทุกวันในโลกศิลปะร่วมสมัย  ซึ่งนิยมชมชื่นและจำต้องพึ่งพาคำอธิบายยาวเหยียด  ภาพถ่ายพอร์เทรตคล้ายภาพเขียนของยอดจิตรกรเรมบรานด์ทจาก ใต้สะพาน’ ชุดนี้  ดูขลังเหมือนภาพนักบุญคริสเตียน  ทั้งที่เป็นภาพถ่ายคนไร้บ้าน  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนบ้าและหรือคนเมา

บุรุษดั่งพระเยซูโผล่หน้าออกมาจากเงามืด; แม่พระมารีปางคร่ำครวญใส่ฮู้ดไหมพรมขมุกขมอม; นางแมกดาลีนก่อนพิธีไล่ผี ดินสอเขียนตาเลอะเทอะ ปากคาบบุหรี่; เซนท์ เซบาสเตียน ทิ่มแทงด้วยเข็มฉีดเฮโรอีนแทนศรธนู – เหล่านี้คือนักบุญและผู้พลีชีพเพื่อพระเจ้าจากโบราณกาลภาคปัจจุบัน  ชายหนุ่มคาบสร้อยไม้กางเขน  เหลือบตาอ้อนวอนสวรรค์ ใบหน้าละม้ายเช กูวารา นักบุญพลีชีพเพื่อการปฏิวัติของยุคสมัยนี้

ช่างภาพอังกฤษ แอนดรูว์ แม็คนีลล์ หาได้สร้างภาพโรแมนติคจากความทุกข์ยาก อย่าลืมว่าความเสียสติทางโลกและการไฝ่หาสัจธรรมนั้น  ใช่ว่าจะไปด้วยกันไม่ได้  ในที่สุด  ภาพชุดนี้คือ พอร์เทรตแห่งการยินยอมจำนนต่อพระประสงค์พระเจ้า  ผู้ชมที่กล้าหาญและช่างสังเกต  อาจเล็งเห็นได้ว่ามันน่าโศกสลดและสยดสยองทางธรรมน้อยกว่าสิ่งที่ตรงกันข้ามอย่างภาพเซลฟี่หลงเงาตัวเอง

“ผมต้องการใช้สื่อภาพถ่ายพอร์เทรตนำเสนอความเป็นมนุษย์ของคนที่เปราะบาง  ในลักษณะที่เป็นทางบวกและดูงดงาม”  แอนดรูว์กล่าว  “ความตั้งใจทางการสร้างสรรค์ของผม  คืออยากค้นหาสัจธรรมที่แฝงลึกอยู่ในชีวิตของคนที่ผมถ่ายภาพ  โดยให้เขาแสดงตัวตนต่อกล้องได้ในสภาวะที่ค่อนข้างมืดสลัว”

 

เพื่อผลิตผลงานอันน่าทึ่งชุดนี้  ช่างภาพแอนดรูว์  แม็คนีลล์  ใช้เวลาหนึ่งปีคลุกคลีกับคนไร้บ้าน  รวมทั้งลงทุนนอนค้างแรมข้างถนนกับเขาด้วย  ที่นครคาร์ดิฟในเวลส์  ซึ่งเป็นบ้านเกิด.

……………………………