A mini-retrospective of Thailand’s forgotten photography master

 

Pornsak Sakdaenprai

 

7 July – 27 August 2012

 

 

Thai country music (Luke Toong) and its stars’ romanticised appeal once shaped the identity of lower-class Thais and most rural people. Pornsak Sakdaenprai’s Pornsilp Photo Studio achieved success by manifesting such fantasies, transforming the sun-burned young farmers of a small Isan town into glamourous Luke Toong gods and goddesses as they appeared on worshipped record covers.

 

These 30 black and white photographic prints, taken between 1965 and 1967, by Pornsak Sakdaenprai, 74, the number one photographer from Pimai district in Nakorn Ratchasima province, reflect the influence and inspiration of the Golden Age of Thai country music, as one of Thailand’s oldest communities began to open up to modernisation and ‘civilisation’ by thronging his studio for new images of itself.

 

Kathmandu Photo Gallery is proud to present the work of Pornsak Sakdaenprai, printed from the original glass negatives, all previously unexhibited, to honour this master photographer as part of our ‘Seeking Forgotten Thai Photographers’ project on neglected artists hitherto unrecorded by Thai photographic history.

 

 

พรศักดิ์ ศักดิ์แดนไพร

นิทรรศการภาพถ่ายฝีมือชั้นครู

 

7 กรกฎาคม – 27 สิงหาคม 2555

 

หากบทเพลงและภาพลักษณ์ของนักร้องลูกทุ่ง  คืออัตลักษณ์ของคนไทยชั้นล่างและคนชนบทส่วนใหญ่ ห้องภาพพรศิลปของ  พรศักดิ์ ศักดิ์แดนไพร  ก็ประสบความสำเร็จที่สามารถเนรมิตความฝันของคนหนุ่มสาวชาวพิมาย  ผู้มีผิวคลำดำเกรียมกร้านแดดจากไร่นา ให้ดูหล่อเหลา สวยคม ราวกับเทพบุตร-เทพธิดานักร้องลูกทุ่งบนปกแผ่นเสียงที่พวกเขาบูชา ภาพถ่ายขาว-ดำจำนวน ๓๐ ชิ้นของ พรศักดิ์ ศักดิ์แดนไพร (วัย ๗๔ ปี) ช่างภาพอาวุโสมือหนึ่งจากอำเภอพิมาย นครราชสีมา  ถ่ายขึ้นในปี  ๒๕๐๘ – ๒๕๑๐  คือภาพสะท้อนอิทธิพลและแรงบันดาลใจอย่างดีจากยุคทองยุคแรกของเพลงลูกทุ่งไทย  เมื่อผู้คนในชุมชนเก่าที่สุดแห่งหนึ่งของไทย  กำลังเปิดรับและก้าว

สู่ความทันสมัย “ศิวิไลซ์” ด้วยการเดินเข้าร้านถ่ายรูปพรศิลปกันอย่างคึกคัก

 

คัดมันดู โฟโต้ แกลเลอรี่  มีความภูมิใจที่จะเสนอผลงานภาพถ่ายของ  พรศักดิ์ ศักดิ์แดนไพร  ที่อัดขยายจากฟิล์มกระจกต้นฉบับ  ซึ่งไม่เคยแสดงที่ใดมาก่อน เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติให้แก่ “ช่างภาพชั้นครู”  อันนับเป็นหนึ่งในโครงการของแกลเลอรี่ “ค้นหาครูถ่ายภาพไทย”  (Seeking Forgotten Thai Photographers) ที่ประวัติศาสตร์ภาพถ่ายไทยยังมิได้บันทึก

……………………