Kathmandu logo

 

Kathmandu Photo Gallery

proudly presents

L i M B O

Photographic Exhibition by

Rafael Martinez

11 May -24 June 2019

[Exhibition Opening Party Saturday 11 May, 6:30 – 9 pm]

 

Strange horizons beckon to Rafael Martinez, and therefore to us, his viewers: ominous towers loom over eerie clumps of vegetation; an empty playground call to us from behind an archway jungle-jim, seemingly the gateway to another world; a goalpost across a football field marking the border between man-tamed grass and the unruly coconut grove beyond. If the photographer is in limbo, it is because he can’t make up his mind whether to stay safe or surrender to his lost horizon’s siren song.

The daydreaming women section of ‘Limbo’ invites a more complex response, but perhaps only because the world has so objectified women as sex and status symbols that it’s almost impossible to see women simply as human-beings who have become the preferred photographic subjects for both men and women, young and old. Their clothes, their hair, their handbags, their shoes etc. are all socially permitted and even expected to be more expressive and colourful than the male. Their pronounced individuality enhances the universality of their mood. They are walking on crowded streets, but they are clearly elsewhere, absent, voided—in limbo. This has no agonizing connotation as in the sense of impatiently waiting. It’s waiting for nothing. It merely is.

Rafael Martinez: “I am searching and photographing margins and interstices. They are places where time passes less quickly, where streets are empty and calm with neither agitation, nor tumult. Ancient times are present and hypermodern City seems far away, while It is very close, just around the corner, conqueror and self-confident. It can be seen in the distance, high buildings pointing to the sky, but surrounded by jungle, like ruins and remains of an ancient, forgotten civilization. These interstitial and central margins, probably destined to disappear, are strange, fantastic and necessary places, sweet but a little disturbing, suitable sites for daydreams and fantasies. On my way in search of such places, I also photographed people, mostly woman, absorbed in their inner worlds. Physically present, their bodies on autopilot and their spirits taking refuge in their inner margins. They are dreaming awake, thinking about their worries and building other worlds.  Thus, these women, in this huge megalopolis, are no longer anonymous. The mask of neutrality that covered them, a few moments before, fell. We feel close to these reveries, that we all visit, without our knowledge and that snatch us, in a gap, out of time, out of space. We know how to recognize the face of the other, absent from the world, the face of one who wanders in his inner limbo, here partially and suddenly uncovered.

 

Kathmandu Curator Manit Sriwanichpoom: “Rafael Martinez’s work achieves both technical and artistic quality. He is able to communicate his emotions so the world experiences what he feels. His photographs of Bangkok reflect his nomadic existence as a diplomatic spouse, following his wife’s job into unfamiliar cultures. However, his sense of alienation is shared by Bangkok’s natives amidst their city’s breakneck pace of change.”

 

Rafael Martinez (b. 1973 in Nice, France) has a master degree in macroeconomics. He took up photography in Bangkok where he has lived since September 2016. ‘Limbo’ is his first solo exhibition.

 

 

 

คัดมันดู โฟโต้ แกลเลอรี่

ภูมิใจเสนอ

 

เคว้งคว้าง

นิทรรศการภาพถ่ายโดย

ราฟาเอล มาร์ติเนซ

11 พฤษภาคม – 24 มิถุนายน 2562

[เปิดนิทรรศการ เสาร์ที่ 11 พ.ค. เวลา 18.30 – 21.00 น.]

 

ขอบฟ้าแปลกประหลาดกวักมือเรียกช่างภาพฝรั่งเศส ราฟาเอล มาร์ติเนซ  และเราผู้ชมของเขาเช่นกัน  หอคอยทมึนตระหง่านอยู่ระหว่างสุมทุมพุ่มไม้รกร้าง; สนามเด็กเล่นเชื้อเชิญให้เราลอดผ่านโครงเหล็กปีนเล่นทรงโค้งดังสายรุ้งสู่พิภพอื่น; ประตูโกลฟุตบอลตั้งอยู่ข้ามสนาม  เป็นทวารกั้นระหว่างทุ่งราบที่มนุษย์ปราบให้เชื่องแล้วด้วยกรรไกรตัดหญ้า  และดงมะพร้าวรกรุ่งริ่งด้านหลัง  หากว่าราฟาเอลอยู่ในสภาวะเคว้งคว้าง  นั่นเป็นเพราะว่าเขาไม่สามารถตัดสินใจว่าจะอยู่อย่างปลอดภัยเช่นนี้ต่อไป  หรือจะสยบยอมต่อมนตราแห่งเพลงนางเงือกมหาภัย ณ ขอบฟ้าหายลับของเขา

 

ปฏิกิริยาที่เรามีต่อภาพชุดผู้หญิงใจลอยในชุด เคว้งคว้าง อาจซับซ้อนกว่า  ความที่ผู้หญิงถูกโลกนี้ปั้นสรรให้เป็นวัตถุทางเพศ (และทางสถานภาพ) เสียจนเราแทบจะมองผู้หญิงเป็นมนุษย์เฉยๆไม่ได้ – มนุษย์ที่กลายเป็นเป้าโปรดของช่างภาพทุกเพศทุกวัย  เนื่องด้วยเสื้อผ้า, ทรงผม, กระเป๋าถือ, รองเท้า ฯลฯ ของพวกเธอได้รับการอนุญาตและความคาดหมายจากสังคมให้แสดงออกถึงตัวตนและสีสันมากกว่าผู้ชาย  เอกลักษณ์ที่เด่นกว่าของผู้หญิงกลับช่วยขับเน้นความเป็นสากลของภวังค์อารมณ์เหม่อลอย  ซึ่งทุกคนล้วนมีเหมือนกัน  หญิงเหล่านี้กำลังเดินอยู่ในเมืองกลางฝูงชน  แต่เธอล้วนอยู่ที่อื่น;  เธอหายไปจากตรงนี้  ราวกับล่องหนไร้ตัวตนอยู่ในความเคว้งคว้างว่างเปล่า   เคว้งคว้าง  ที่ไม่ใช่การเฝ้ารออย่างทุกข์ทน  มันไม่ได้รอคอยอะไรเลย  เพียงแต่เป็นอยู่

 

ราฟาเอล มาร์ติเนซ“ผมแสวงหาชายขอบและจุดตัดผ่านของสิ่งที่แตกต่าง  ในที่นั้นเวลาคืบคลานช้าลงและถนนหนทางว่างเปล่าและสงบนิ่ง  ไร้ความวุ่นวายยั่วยุ  โบราณกาลปรากฏในปัจจุบันและนครหลวงล้ำสมัยกลับดูเหมือนอยู่ห่างไกลทั้งที่มันแสนใกล้  ตระหง่านอยู่ดังผู้พิชิต  เปี่ยมด้วยความมั่นใจในหมู่ตึกระฟ้าด้านหลัง  แต่ล้อมรอบด้วยป่าดงดิบ  จากตรงนี้เมืองกรุงดูเหมือนสิ่งปรักหักพังจากอารยธรรมโบราณที่โลกหลงลืม  ชายขอบและจุดตัดผ่านเหล่านี้ ซึ่งสุดท้ายคงสูญหายไป  เป็นสถานที่แปลกประหลาดมหัศจรรย์ที่จำเป็นสำหรับเรา  มันมีเสน่ห์แต่รบกวนจิตใจ  เหมาะใช้เป็นที่นั่งฝันละเมอเพ้อพก

              ในการเดินทางเสาะหาสถานที่เหล่านี้  ผมก็ถ่ายรูปคนไปด้วย  ผู้หญิงในชุด เคว้งคว้าง กำลังซึมซับอยู่ในโลกภายในของตน  กายของเธอปรากฏอยู่ตรงนี้  เคลื่อนไหวโดยอัตโนมัติ  ขณะที่จิตวิญญาณล่องลอยไปหลบอยู่ในมิติชายขอบภายใน  พวกเธอฝันลืมตาถึงความกังวล  หรือกำลังสรรค์สร้างโลกอื่น”

 

มานิต ศรีวานิชภูมิ ภัณฑารักษ์คัดมันดู โฟโต้ แกลเลอรี่:  “งานของราฟาเอลมีทั้งคุณภาพทางเทคนิคและทางศิลปะ  สามารถแสดงออกสื่อสารอารมณ์ของตัวเองให้โลกสัมผัสรับรู้ได้  ภาพกรุงเทพของเขาสะท้อนสภาวะชีวิตของเขาเองที่ต้องคอยย้ายไปเรื่อยๆ ตามภรรยานักการทูตไปอยู่ในประเทศและวัฒนธรรมที่ตนเองไม่รู้จักและคุ้นเคย  ทำให้ตัวเขารู้สึกแปลกแยก  ขณะเดียวกันสภาวะการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของกรุงเทพเอง  ได้สร้างความโดดเดี่ยวและแปลกแยกให้กับคนเมืองที่อาศัยเช่นกัน”

 

ราฟาเอล มาร์ติเนซ  (เกิด 2516 เมืองนีซ, ฝรั่งเศส) จบปริญญาโทเศรษฐศาสตร์มหภาค  เขาและครอบครัวพำนักที่กรุงเทพตั้งแต่ กันยายน 2559   เคว้งคว้าง คือนิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกของเขา

 

………………………………………..