Kathmandu Photo Gallery

proudly presents

‘You Don’t Have to be Black to be Outraged’

A photographic exhibition by

Justin Mills

24 April – 28 December 2021

 

George Floyd’s ghastly death on 25 May 2020 at the hand of white police officers in Minneapolis ignited another round of protests against racism and police brutality under the banner ‘Black Lives Matter’, which spread to over sixty countries across the globe.

British artistJustin Millslives in Bangkok, far from the street where Derek Chauvin’s knees suffocated George Floyd, but as a fellow human being and a white man with a conscience and longing for justice and equality, he felt he could no longer stand silently by.

 

‘You don’t have to be black to be outraged’is a series of photo montages from four American anti-racist movies: ‘Do the Right Thing’ (dir. Spike Lee, 1989); ‘Selma’ (dir. Ava DuVernay, 2014); ‘Moonlight’ (dir. Barry Jenkins, 2016); ‘I Am Not Your Negro’ (dir. Raoul Peck, 2016), capturing key moments along with their English subtitles and turning them black and white.

Mills’ choice of black and white not only reflects the colour issue, but by dividing the image in two, with normal positive print on one side and negative on the other, he also emphasises their complementary quality to highlight the fact that each opposite exists because of the other. There is no white without black and vice versa. This is the scientific fact of photography and of the real world.

Justin Mills (b. 1964) graduated from India’s legendary Santiniketan with a Master in Fine Arts in 1994 and has been a resident of Thailand since 1996. While painting has long been his primary discipline, photography is another medium he uses to express himself.

.

.

คัดมันดูแกลเลอรี่

ภูมิใจเสนอ

ถึงไม่ผิวดำก็รับไม่ได้

นิทรรศการภาพถ่ายมอนทาจโดย

จัสติน มิลล์ส์

24 เมษายน – 28 ธันวาคม 2564

การตายของชายอเมริกันผิวดำ จอร์จ ฟลอยด์ (25 พฤษภาคม 2563) ด้วยน้ำมือของตำรวจผิวขาวแห่งเมืองมินนีแอโพลิส (Minneapolis)ที่เอาเข่ากดคอจนเขาหายใจไม่ออก ได้จุดกระแสประท้วงต่อต้านการเหยียดสีผิวขึ้นมาอีกครั้งในนาม “ชีวิตคนดำก็สำคัญ”(Black Lives Matter)  กระแสนี้ลุกลามไปทั่วสหรัฐอเมริกาและทั่วโลกกว่า 60 ประเทศ

แม้จัสติน มิลล์ส์ ศิลปินอิสระชาวอังกฤษจะอาศัยอยู่กรุงเทพอันห่างไกล แต่จิตสำนึกในฐานะเพื่อนมนุษย์และฐานะคนขาว  ผู้รักความเป็นธรรมและความเสมอภาค  ทำให้เขามิอาจนิ่งดูดายต่อเหตุการณ์ดังกล่าวได้อีกต่อไป

‘ถึงไม่ผิวดำก็รับไม่ได้’คือชุดผลงานภาพถ่ายซ้อน(Photo montage)ที่เป็นผลผลิตจากการดูหนังเหยียดสีผิวในสหรัฐฯ จำนวน 4 เรื่อง:’Do The Right Thing’ (กำกับโดยSpike Lee, 1989), ‘Selma’ (กำกับโดยAva DuVernay, 2014), ‘Moonlight’ (กำกับโดยBarry Jenkins, 2016) และ ‘I Am Not Your Negro’ (กำกับโดยRaoul Peck, 2016) จัสตินตั้งใจเลือกหยุดภาพเคลื่อนไหวของหนังให้ได้จังหวะภาพใบหน้านักแสดงผิวสี พร้อมกับตัวหนังสือบรรยายคำพูดของนักแสดงภาษาอังกฤษที่มีความหมายกินใจผู้คน จากนั้นศิลปินจะบันทึกให้เป็นภาพนิ่งก่อนจะแปลงภาพเป็นขาว-ดำ

จัสตินตั้งใจเลือกใช้ภาพขาว-ดำ มิใช่เพียงเพราะชื่อและลักษณะของสีที่ตรงกับประเด็นปัญหาแค่นั้น ศิลปินยังย้ำให้ผู้ชมตระหนักถึงการดำรงอยู่ของคู่สีตรงข้าม  ด้วยการแบ่งภาพออกเป็นสองส่วนเท่าๆกัน  โดยส่วนหนึ่งเป็นภาพปกติ-โพสิทีฟ อีกส่วนเป็นภาพกลับค่า-เนกาทีฟ เพื่อตอกย้ำว่าการดำรงอยู่  หรือการเห็นสีขาว  เพราะมีสีดำ และการมีอยู่ของสีดำ เพราะมีสีขาว นี่คือข้อเท็จจริงทั้งทางวิทยาศาสตร์การถ่ายภาพและโลกแห่งความจริงที่แฝงอยู่ในนิทรรศการครั้งนี้

จัสติน มิลล์ส์(เกิด 2507) ศิลปินชาวอังกฤษ จบปริญญาโทด้านศิลปะจากศานตินิเกตัน อินเดีย เมื่อปี 2537  และเข้ามาพำนักในเมืองไทยตั้งแต่ปี 2539 จนปัจจุบัน หลังจากสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมมาอย่างยาวนาน  ภาพถ่ายนับเป็นสื่ออีกแขนงหนึ่งที่จัสตินใช้แสดงออกทางความคิดของเขา

…………………………………………..