Kathmandu Photo Gallery

proudly presents

 

 ‘The White Wall’

A photographic exhibition by

Chakrit Leelachupong

3 November – 28 December 2018

(Opening party Sat 3 Nov from 6.30 – 9.00 pm)

 

At first glance Chakrit Leelachupong seems merely to be toying with light & shadow in ‘The White Wall’. Unexpectedly, these black & white photographs actually record ordinary people’s rituals of grief for their beloved King Rama 9, after he died in October 13, 2016 when the white wall that surrounds the Grand Palace, where King Bhumibol Adulyadej’s body lay in state, became the place for simple displays of mourning by ordinary people.

 

Chakrit held a photographic vigil there, bearing witness to the phenomenal grief over the Kingdom’s momentous loss. Says Chakrit, “For me, the white wall marks the dividing line between the living & the dead.”

 

Curator Manit Sriwanichpoom: “The camera angle, the composition, and the selective close-up framing that accentuates the shadows, all imbue this series with an eerie mystery, as if the worshippers were performing some occult rite as invisible souls congregate around them.”

 

A professional photographer based in Bangkok, Chakrit Leelachupong (b. 1988), graduated in business administration from Assumption University in 2012 but fell in love with photography, which has become his life & livelihood. ‘The White Wall’ is his first solo exhibition at Kathmandu Photo Gallery.

 

 

 

 

คัดมันดู โฟโต้ แกลเลอรี่

ภูมิใจเสนอ

 

กำแพงสีขาว

นิทรรศการภาพถ่ายโดย

ชาคริต ลีลาชูพงศ์

3 พฤศจิกายน – 28 ธันวาคม 2561

[เปิดนิทรรศการ เสาร์ที่ 3 พ.ย. เวลา 18.30 – 21.00 น.]

 

หากดูอย่างผิวเผิน แบบผ่านๆ ไวๆ เราอาจคิดไปว่าภาพถ่ายชุด “กำแพงสีขาว” ของ ชาคริต ลีลาชูพงศ์  เป็นเรื่องราวของการละเล่น  สนุกกับแสงและเงา  ที่ปรากฏรูปทรงแปลกๆ ตรงมุมนั้นมุมนี้  ใครจะไปนึกว่าภาพถ่ายขาว-ดำชุดนี้คือ  พิธีไว้อาลัยและการร่ำลาของชาวบ้านที่มีต่อในหลวงรัชกาลที่ 9 อันเป็นที่เคารพรักบูชา  เมื่อคราเสด็จสวรรคต 13 ตุลาคม ปี 2559

 

 

“กำแพงสีขาว” หรือ กำแพงพระบรมมหาราชวัง สถานที่ตั้งพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ  คือบริเวณที่ชาวบ้านจำนวนหนึ่งได้ใช้เป็นสถานที่ประกอบการแสดงความอาลัยอย่างง่ายๆ

 

สำหรับผมแล้ว  กำแพงสีขาวคือ  เส้นกั้นพรมแดนระหว่างความเป็นและความตาย  นี่คือมุมมองของ ชาคริต ลีลาชูพงศ์  ช่างภาพที่ไปเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์การสูญเสียครั้งสำคัญของแผ่นดินไทย  และได้ออกไปบันทึกภาพความทรงจำเหล่านี้ไว้

 

ภัณฑารักษ์ของคัดมันดู โฟโต้ แกลเลอรี่ มานิต ศรีวานิชภูมิ กล่าวถึงผลงานชุดนี้ว่า “การใช้มุมกล้อง  การจัดองค์ประกอบภาพโดยจงใจเลือกตัดส่วนของภาพในระยะใกล้  และเลือกเก็บภาพเฉพาะส่วนที่เป็นเงา  ทำให้ภาพถ่ายชุดนี้ดูลึกลับ  ประหลาด  เหมือนผู้ที่มากราบไหว้กำลังประกอบพิธีไสยศาสตร์บางอย่าง โดยมีเงาวิญญาณเวียนว่ายอยู่รอบๆ”

 

ชาคริต ลีลาชูพงศ์ (เกิด 2531) จบปริญญาด้านธุรกิจจากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ปี 2555  แต่หลงรักการถ่ายภาพจนยึดเป็นอาชีพอิสระ  เขาเคยเข้าร่วมเวิร์คช้อปกับเทศกาลภาพถ่ายอังกอร์, เขมร (Angkor Photo) ในปี 2560  “กำแพงสีขาว” คืองานแสดงเดี่ยวครั้งแรกของเขา ณ คัดมันดู โฟโต้ แกลเลอรี่

 

…………………………………