Abandon/Decay

 

A photographic exhibition by 

Liam Morgan

 

12 January – 24 February 2013

 

 

What is abandoned will decay; what we do not feed and nurture will die: love, hate, anger. An exploration into the nature of decay and the many ways we abandon, Liam Morgan’s Abandon/Decay series are allegorical self-portraits involving non-attachment and our selective use of abandonment as an emotional tool. How something is abandoned dictates the way it decays.

 

Some objects, found in a state of decay, are posed for the camera long after being abandoned. Others are symbolic objects introduced into scenes of decay; purposely left behind in the hope that they will stay there. Decayed, the objects often lose their symbolic power over the one who cast them off, but not always.

 

Genre-bending Canadian photo-artist and filmmaker Liam Morgan has lived in Thailand for ten years since he was twenty. His work ranges from gonzo documentary to musical portraiture, from still life to experimental photo print-making; to probe the uneasy role of photographer and the strange nature of the medium itself. His work has appeared in many international publications, with an upcoming photographic book entitled ‘Back: Behind Da Bone’.

 

 

ทอดทิ้ง/ผุพัง

นิทรรศการภาพถ่ายโดย

เลียม มอร์แกน

 

12 มกราคม – 24 กุมภาพันธ์ 2556

 

 

สิ่งที่ถูกทิ้งย่อมผุพัง; สิ่งใดที่เราไม่ป้อนหล่อเลี้ยงย่อมตายไป: รัก, เกลียด, โทสะ. นี่คือการสำรวจธรรมชาติแห่งความเสื่อมทราม และหลากวิธีที่เราทอดทิ้งในภาพถ่ายชุด ‘ทอดทิ้ง/ผุพัง’ ของ เลียม มอร์แกน: ภาพถ่ายตนเองเชิงสัญลักษณ์อันเกี่ยวเนื่องด้วยความไม่ติดยึด และวิธีทอดทิ้งที่เราเจาะจงใช้เป็นเครื่องมือทางอารมณ์ วิธีที่สิ่งใดถูกทิ้งกำหนดหนทางที่มันเสื่อมทราม

 

วัตถุบางชิ้น ค้นพบในสภาพผุพัง ถูกนำมาโพสหน้ากล้องหลายนานหลังจากการถูกทิ้ง บางชิ้นเป็นวัตถุชุ่มสัญลักษณ์ ที่นำมาวางในฉากที่เสื่อมโทรม; ถูกทิ้งไว้อย่างจงใจโดยคนที่หวังว่ามันจะเลิกรบกวนจิตใจ เมื่อเสื่อมถอยลงแล้ว วัตถุดังกล่าวมักสูญเสียอำนาจทางสัญลักษณ์ที่มันเคยมีเหนือคนที่ทิ้งขว้างมัน แต่ไม่เสมอไป

 

ศิลปินภาพถ่ายและนักทำหนังจากคานาดา ผู้ไม่จำกัดความในการสื่อสารของตน เลียม มอร์แกน ย้ายมาอยู่ประเทศไทย ๑๐ ปีตั้งแต่อายุ ๒๐ ผลงานหลากหลายของเขามีตั้งแต่สารคดีก็อนโซ (gonzo) และพอร์เทรตทางดนตรี ไปจนถึงภาพหุ่นนิ่งคลาสสิคและการพริ้นท์ภาพถ่ายแนวทดลอง เพื่อสำรวจบทบาทอันแปลกแยกของช่างภาพ และธรรมชาติอันน่าสงสัยของสื่อภาพถ่ายในตัวมันเอง ผลงานของเขาได้ตีพิมพ์ในสื่อต่างประเทศหลายฉบับ และในหนังสือภาพถ่ายของเขา ‘แบ็ค: บีฮายนด์ดาโบน’

…………………………..