YA BA

 

A photographic exhibition by

Olivier Pin-Fat

October 6 – 30 November 2007

 

JUST LIKE HONEY – A mental journey into the dark world of ‘ya ba’ and out again.

 

Innocent pink and sweet as honey. It melts on tin foil beneath a low  flame and trace slips into black. Toxic vapour rises from the tar bubbling residue and is inhaled. A split second flash. All doors to otherly perceptions are dynamited open. The mind’s pleasure dome explodes into light shards and insights, desires, obsessions, shadows, colours; ideas unborn and concepts already dead. A strobe light cacophony. A euphoria like a plague of locusts rising en masse to blacken the sky. Smoke curling imagery imploding upon itself. Solitary journeys begin, in dream-time.

 

Highly addictive. Extremely dangerous. This is the world of ‘ya ba’ –  ‘crazy pill’ as it’s known to the Thais, or crystal methamphetamine. These photographs were taken during Thailand’s war on drugs when, according to Amnesty International, over 2000 people were killed during the first 3 months of the campaign. The authorities maintain that most of the killings were carried out by drug dealers. There’s a very strong suspicion that most, if not all, were extra-judicial executions – made to look like ‘murders’ – to fulfill a government black list. It is only now, in 2007, that a few of these killings are being investigated. They included the elderly and children as young as 16 months.

 

This is as much a journey for those photographed here as it is for me. Their Bangkok became my Bangkok and vice versa. It took on the form of a predatory beast of monstrous proportions, its roads were arteries and bones, its super-highways rib cages. There was no escape. It was diseased and shattered, endlessly nocturnal, smashed-in-chaotic, and ultimately reflectory. It was solo. Narcissistic. We were morphing into the city itself. Anonymous hotel rooms became interiors of the skull. Door key holes were the mind’s eye onto the outside world for days and days. Months and months. Time lost its meaning. Wires of communication were entangled, scrambled, knotted into stuttering loops. Cityscapes were dreams. Often nightmares. Landscapes of the mind. Sleep never came. Only the horror of the final crash. A tsunami of viscous black anxiety and fear, insanity, nihilism. The central nervous system flickering phosphorous like a hillside after a napalm strike. Psychosis. Then the hunt in over-exposed sunlight, to get more. Always on the move, in fact never moving at all. As we smoked more, it dawned on me we were the ones being smoked – we were slowly combusting into vapour.

 

Photography became a form of exorcism for me. A silent companion, a justification. Film was stamped on and held up to the sun, what was meant to be was meant to be. What wasn’t, wasn’t and remained fogged and still-born. Never to see the light of day, reclaimed from the very same sun rays that gave the film an imprint in the first place. Exposed frames sacrificed to the random and accidental. Put to the survival test of life and death. The few that survived seemed destined to be. More potent. Everything from and out of time and light…..everything in its right place.

 

Olivier Pin-Fat

 

 

Olivier Pin-Fat is an award winning photographer whose work has appeared in leading publications in Europe, Asia and America and has been exhibited all over the world in major galleries and international photo festivals. Based in Bangkok since 1993 he has been represented by the prestigious agency and Gallery ‘VU’ in Paris since 1998, and is in numerous private collections, books on photography, and international reviews. He is currently waiting for his large book ‘Possessed’ to be published in Paris and London – a sprawling inter-related stream – of what he describes as  – ‘visual (un) consciousness’ from these past 14 years in Asia – and his ‘new’ book on China to be published shortly after.

 

 

———————————————————-

 

ยาบ้า

 

นิทรรศการภาพถ่ายโดย

ออลิวิเอร์ ผิน-แฟ็ท

6 ตุลาคม – 30 พฤศจิกายน 2550

 

การเดินทางสู่โลกมืดของ‘ยาบ้า’ และการหลุดกลับออกมาอีกครั้งหนึ่ง

 

สีชมพูใสและหอมหวานดั่งน้ำผึ้ง  มันค่อยๆละลายบนแผ่นตะกั่วลนไฟอ่อนๆจนกลายเป็นยางดำเดือดปุดๆ  ไอพิษลอยขึ้นมาให้สูดเข้าไป  ชั่วพริบเสี้ยววินาที ทุกทวารที่นำไปสู่ทุกโสตสัมผัสสู่โลกอื่นถูกระเบิดให้เปิดกว้างอ้า  จุดรับความสุขในจิตกระเด็นเป็นดาวกระจายแห่งความเข้าใจ  แรงปราถนา  ความคลั่ง  แสงเงาและสี – ทั้งความคิดที่ยังไม่ทันได้เกิดและความเข้าใจที่ตายไปแล้ว  ไฟกะพริบแห่งความจ้อกแจ้กจอแจ  ความลิงโลดดั่งห่าตั๊กแตนที่ทะยานบินขึ้นทั้งฝูงจนฟ้ามืดดำ  มโนภาพจากลายเส้นม้วนลอยของควันที่ซึมเข้าสู่ตัวมันเอง  การเดินทางโดดเดี่ยวเริ่มต้นขึ้น  ในห้วงแห่งความฝัน .

 

เสพแล้วติดง่าย  ติดลึก  และอันตรายยวดยิ่ง  นี่คือโลกของ ‘ยาบ้า’ หรือ คริสตัลเม็ธแอมเฟ็ททามีน  ภาพถ่ายชุดนี้สร้างขึ้นกลางยุคสงครามยาเสพติด  ช่วงที่องค์กรนิรโทษกรรมสากลแถลงว่ากว่าสามพันคน ถูกฆ่าตายภายในสามเดือนแรกของมัน  รัฐบาลยืนยันว่าส่วนใหญ่ในจำนวนนี้เป็นการฆ่ากันเองในกลุ่มผู้ค้ายาเสพติด  แต่เป็นที่สงสัยโดยทั่วไปว่าส่วนใหญ่เป็นการ ฆ่าตัดตอน ที่ทำให้ดูเหมือนฆาตกรรม ตามรายชื่อใน ‘บัญชีดำ’ ของรัฐบาลขณะนั้น  ฆาตกรรมเหล่านี้เพิ่งจะเริ่มมีการสอบสวนบ้างในบางรายไม่นานมานี้ในปี 2550 นี่เอง  ผู้ถูกประหารมีทั้งผู้สูงอายุและเด็กที่อายุน้อยถึงสิบหกเดือน .

 

ภาพชุดนี้เป็นการเดินทางของคนที่ปรากฎอยู่ในภาพพอๆกับที่มันเป็นการเดินทางของตัวผมเอง  กรุงเทพของเขากลายเป็นกรุงเทพของผม  และของผมก็กลายเป็นของพวกเขาเช่นกัน  การเดินทางนี้กลายร่างเป็นสัตว์ประหลาดล่าเนื้อตัวมหึมา  ถนนของมันคือเส้นเลือดและกระดูก  ทางด่วนของมันคือแนวซี่โครง ไม่มีทางหนี  ไม่มีทางออก  มันโทรมด้วยการรุมเร้าของโรคและพังพินาศ  มันคือค่ำคืนที่ไม่มีวันจบสิ้น  มันคือความว้าวุ่น ชอกช้ำ  สิ่งที่อยู่ภายในสะท้อนออกมาภายนอก  และโลกภายนอกสะท้อนเข้ามาข้างในอย่างไม่รู้จบ  ราวกับว่าทางเดินนั้นคืออุโมงค์กระจกเงา  มันคือความโดดเดี่ยว  ความหลงไหลเงาตัวเอง  เรากำลังแปรสภาพเป็นตัวเมืองกรุงเทพนั้นเอง  ห้องนิรนามในโรงแรมนิรนามกลายเป็นโพรงในกระโหลก  รูกุญแจคือดวงตาที่จิตเรามองโลกภายนอกเป็นวันเป็นเดือน  วันแล้ววันเล่า  เดือนแล้วเดือนเล่า  เวลาหมดความหมายของนาฬิกา  สายต่อของการสื่อสารพันยุ่งเป็นปมผสมปนเป  ผูกติดจนเหลือเพียงคำขาดๆที่เล่นซ้ำซากราวกับแผ่นเสียงติดอ่างตกร่อง  ภูมิทัศน์ของเมืองคือภาพในฝัน – ฝันร้ายเสียเป็นส่วนใหญ่ เพราะมันคือทิวทัศน์ของจิตเราเอง  นิทราอันอ่อนโยนไม่เคยมาเยือน  มีเพียงความน่าสะพรึงกลัวของการล้มครืนในท้ายที่สุด – คลื่นยักษ์ดำมืดเหนียวหนึบแห่งความกังวล  ความกลัว  ความเสียสติ  ความสูญสิ้น  ระบบประสาทส่วนกลางสะท้อนแสงกะพริบด้วยฟอสฟอรัสดังหุบเขาหลังการทิ้งระเบิดเนปาล์ม  อาการวิกฤตทางจิต ตามด้วยการออกล่ากลางแดดแผดจ้าพร่าตาเพื่อหายามาเสพต่อ  ดูราวกับว่าเราเคลื่อนไหวตลอดเวลา  ทั้งๆที่เราไม่ได้ไหวติง และหลังจากที่เราสูบเข้าไปและสูบเข้าไปอีก  ผมเริ่มสะกิดใจว่า เรานั่นแหละที่กำลังถูกสูบ – ถูกเผาให้ค่อยๆสลายกลายร่างเป็นควัน .

 

สำหรับผม การถ่ายภาพเป็นเสมือนพิธีขับไล่ปีศาจ  มันคือเพื่อนร่วมทางที่สงบนิ่ง  มันคือข้ออ้างที่ทำให้ทุกอย่างมีเหตุผล  ฟิล์มถูกประทับลงไปและส่องขึ้นกับแสงอาทิตย์  อะไรที่จะต้องเกิดต้องเป็น  มันก็ต้องเกิดต้องเป็น  อะไรที่จะไม่เกิดก็จะไม่เกิดและคงอยู่ในความพร่ามั่วเฉกเช่นทารกที่ตายก่อนเป็น  ไม่มีวันได้เห็นแสงแดด เมื่อแสงแดดที่สร้างภาพนั้นบนแผ่นฟิล์มตั้งแต่แรกกลืนกินมันกลับคืนไป  เฟรมเน็กกาถีฟที่ถ่ายแล้ว  ที่สละทิ้งสู่ความมั่วและความบังเอิญ ผ่านการทดสอบของการอยู่รอด แล้วแต่ชะตากรรม ภาพจำนวนน้อยนิดที่รอดชีวิตมาได้ดูเหมือนมีวาสนาที่จะได้มีตัวตน  มันทรงพลังมากขึ้นเพราะการทดสอบนั้น  ทุกสิ่งทุกอย่างจากห้วงเวลาและแสงสว่าง  จากนอกกาลเวลาและแสงสว่าง…ทุกสิ่งทุกอย่างในที่ทางที่ถูกต้องของมัน

ออลิวิเอร์ ผิน–แฟ็ท

 

ออลิวิเอร์ ผิน–แฟ็ท เป็นช่างภาพมือรางวัลที่มีผลงานปรากฎในสิ่งพิมพ์ที่มีชื่อทั้งในยุโรป  เอเชีย  และอเมริกา เขาเคยแสดงงานมาแล้วทั่วโลก  ในแกลเลอรี่ที่มีชื่อเสียงและเทศกาลภาพถ่ายสากลต่างๆ  เขาตั้งรกรากอยู่ในกรุงเทพตั้งแต่ปี 2536 และนำเสนอโดยเอเยนซี่และแกลเลอรี่ ‘วู’ แห่งปารีสที่มีชื่อเสียงตั้งแต่ปี 2541  ผลงานของเขาเป็นที่สะสมโดยนักสะสมงานศิลปะหลายท่าน  และปรากฎอยู่ในหนังสือภาพถ่ายและหนังสือศิลปะทั่วโลก  อีกไม่นานหนังสือรวมภาพถ่ายเกี่ยวกับประเทศจีนและหนังสือรวมภาพถ่ายของเขาที่ชื่อว่า ‘Possessed’ (‘ผีสิง’) จะออกตีพิมพ์ในปารีสและลอนดอน  ซึ่งเป็น “ภาพจากจิต(ใต้)สำนึก”  จากการใช้ชีวิตสิบสี่ปีในเอเชีย.