LUMINOSITY – The Muse of Light
A photographic exhibition by

Charles Freeland

 

2 December 2006 – 28 January 2007

 

 

A photograph can be like a poem.  For just as a poem might bring together the elements of word and time in a metered line of verse, so a photograph – particularly a black and white photograph – combines two great elements, one occurring in nature, the other distinctly human: light and time.

 

In black and white photography, these two combine with a third element, drawn from the earth: silver.  Light, time, and the silver of the earth thus come together in both the eye of the photographer, who ‘takes’ the photograph, and in the eyes of the beholder, who sees the image.  Just as poet and reader conjoin in the reading of the poem, so in the exhibition of the photograph, photographer and viewer conjoin in a shared moment of meditation on the visible.  A meditation in time, literally bathed in light.

 

The images in this exhibition (Kathmandu Gallery, Bangkok, 2006) are signatures, traces, of this elemental intersection of light, time, and chemistry.  Their purpose, as photographs, is, therefore, neither to document nor to conceptualize, but rather to be moments of vision, moments of meditation on the visible; they are presentations of the visible; they show — one could say that they commemorate — what was there, given to be seen in an ephemeral, luminous moment of time.

 

They are the signatures of the luminosity of existence; traces left across the surfaces of film of a transience that would have otherwise gone by unrecalled, vanished without a trace.  Some of these photographs seek to take this poetry of light to the very threshold of the visible, to a point, a vanishing point, a horizon of light and time.

 

These ‘seascapes’ are such images, photographs of ‘nothing’, images without objects, images of vast distances where sea and sky meet at an obscure and ambiguous horizon.  This horizon, traced in these photographs, is where the eye and mind can find their redoubt of calm and solace in a world that increasingly demands their restlessness.  Other images attempt to communicate the staggering proportion of the human world in the midst of this immensity of sea and light.

 

There are, of course, precedents for this effort.  One can see the inspirations of Chinese landscape paintings, or of Monet’s impressionist paintings of the sea and of his beloved lily pond; Sugimoto’s black and white seascapes must also be mentioned.  But in the singularity of each encounter of light and time and the elements, there is an almost uncountable uniqueness that has no precedents.

 

This is the moment of the muse of light, the moment the breaking, Orpheus song of luminosity rises only to die away and fall again into the night waiting at the end of the day.

Charles Freeland

Hua Hin, Thailand.

October 2006

 

The photographer, Charles Freeland, is a long-time resident of Bangkok and a professor of philosophy and art history at the Mahidol University International College.  This is his fifth solo photographic exhibition in Thailand since 2002.  In January 2006, Mahidol University published his DVD-ROM, “The Arts and Culture of Thailand on DVD-ROM.”

 

——————————————————

 

เ รื อ ง แ ส ง

(มนต์แห่งแสง)

 

นิทรรศการภาพถ่ายโดย

ชาร์ลส์ ฟรีแลนด์

 

2 ธันวาคม 2549 – 28 มกราคม 2550

 

ภาพถ่ายอาจเป็นเช่นบทกวี ที่ร้อยถ้อยคำและจังหวะเวลาเข้าด้วยกันเป็นบทกลอน โดยเฉพาะภาพถ่าย ขาว – ดำ ที่สานปรากฏการณ์ของธรรมชาติและของมนุษย์เข้าด้วยกันในลักษณะของแสง และ เวลา ทั้งสองสิ่งนี้เมื่อประสานกับสิ่งที่สามที่มาจากดินที่เรียกว่า เงิน (silver nitrate) กลายเป็นภาพถ่าย ขาว–ดำ    แสง  เวลา และเงินมารวมกันเป็นภาพผ่านสายตาของช่างภาพผู้ถ่ายภาพ ผ่านสายตาของผู้ชมที่เห็นภาพ ดังเช่น กวี และผู้อ่านที่สื่อสารกันผ่านการอ่านบทกวี ในนิทรรศการภาพถ่าย ช่างภาพและผู้ชมภาพสัมผัสผ่านนาทีร่วมเพ่งพิศภาพที่ปรากฏ ที่เป็นเหมือนการทำสมาธิแห่งเวลาที่อาบแสง

 

ภาพถ่ายในนิทรรศการนี้ เป็นดั่งลายเซ็นและร่องรอยของการมาบรรจบกันของ แสง เวลา และเคมี  จุดประสงค์ของภาพถ่ายเหล่านี้จึงมิใช่เพื่อบันทึก หรือ ให้ความหมาย (conceptualize) แต่คือนาที (ของภาพ) ที่ปรากฏ นาทีของการทำสมาธิกับสิ่งที่ปรากฏเพียงชั่วครู่ เท่ากับเป็นการตอกย้ำและตอบรับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น ที่เผยให้(เรา)ได้เห็นความไม่จีรังยั่งยืนเกิดดับ  นาทีอันเรืองแสงแห่งเวลา

 

ภาพถ่ายที่เป็นลายเซ็นอันเป็นประกายของชีวิตเหล่านี้ คือ ร่องรอยของความไม่จีรัง ที่ประทับไว้บนแผ่นฟิล์มมิฉะนั้นแล้วก็คงดับสลายอย่างไร้ร่องรอย อย่างไม่มีวันหวนกลับ ภาพบางภาพในนิทรรศการ เป็นการพยายามเล่นกับความงดงามของแสงให้ถึงขีดจำกัด ซึ่งเป็นขอบฟ้าของแสงและเวลา ภาพท้องทะเลที่อ้างว้าง ที่มิใช่ภาพอะไรเลย ว่างเปล่าปราศจากวัตถุ คน และสิ่งของ คือ ภาพดังกล่าว ภาพความเวิ้งว้างของท้องทะเลและท้องฟ้าที่มาบรรจบกันอย่างเลือนราง แต่ขอบฟ้าที่เลือนรางนี้แหละที่ตาและจิตใจสามารถสัมผัสความสงบและผ่อนคลายที่หายากจากโลกที่เร่งรีบ ไม่หยุดยั้ง ไม่อยู่นิ่ง ส่วนภาพอื่นๆ นั้นเป็นการพยายามสื่อสารความไม่เป็นสัดเป็นส่วนของโลกมนุษย์ ท่ามกลางความไพศาลของท้องฟ้าและแสง

 

ในแง่หนึ่งความพยายามดังกล่าวดูว่ามีที่มาที่ไปที่สามารถเห็นได้ว่าเกิดแรงบันดาลใจจากศิลปะภาพวาดทิวทัศน์ของจีน จากภาพท้องทะเลและดอกบัวของ Monet จากภาพ ขาว – ดำ ท้องทะเล ของ Sugimoto  แต่ในอีกแง่หนึ่งการมาบรรจบ กันของแสง เวลา และส่วนประกอบอื่นๆ ที่มีเพียงหนึ่งเดียวไม่มีสอง ภาพแต่ละภาพจึงมีลักษณะที่เป็นเอกเฉพาะตัว ไร้ที่มา

 

สิ่งนี้แหละคือ มนต์แห่งแสง  นาทีแห่งการเกิดเพื่อดับ ครั้งแล้วครั้งเล่าเป็นอนิจ.

 

ชาร์ลส์ ฟรีแลนด์

หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ (ตุลาคม 2549)

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชาร์ลส์ ฟรีแลนด์ ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนปรัชญา, ตรรกศาสตร์, ประวัติศาสตร์ศิลป์ และวรรณกรรม อยู่ที่วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล นครปฐม เคยแสดงผลงานภาพถ่ายทั้งในไทยและต่างประเทศหลายครั้ง ล่าสุดมีผลงาน The Arts and Culture of Thailand on DVD-ROM ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล